วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555



== ประโยชน์ของช็อกโกแลต ==

  1. ช็อกโกแลตเป็นอาหารที่มีสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาท เล่ากันว่า นักรักชื่อกระฉ่อนโลกอย่างจิอาโคโม คาสซาโนวา (1725-1795) กินช็อกโกแลตก่อนขึ้นเตียงกับผู้หญิงที่หลงเสน่ห์ ด้วยช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์ใคร่ และผู้หญิงร้อยละ 50 สารภาพว่ากินช็อกโกแลตก่อนเมคเลิฟ
  2. มีงานวิจัยที่ศึกษากับเพศชายจำนวน 8000 คนที่สำเร็จการศึกษาจากฮาร์วาร์ด พบว่า คนที่รับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่เคยรับประทานช็อกโกแลต สาเหตุที่กินช็อกโกแลตแล้วอายุยืนอาจเกี่ยวข้องกับ สารโพลีฟีนอลที่มีอยู่จำนวนมากในช็อกโกแลต โพลีฟีนอลเป็นสารที่ช่วยลดอนุมูลอิสระของไลโปโปรตีนความแน่นต่ำ และช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ความเชื่อดังกล่าวยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่ 
  3. นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเปรียบเทียบกลุ่มที่รับประทานช็อกโกแลตเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานช็อกโกแลตเทียม เพื่อทดสอบความจำพบว่า กลุ่มที่กินช็อกโกแลตสามารถจดจำคำพูดและภาพได้ดีกว่า และยังเคลื่อนไหวตอบสนองได้คล่องแคล่วกว่า ปัจจุบันนักวิจัยกำลังทดลองซ้ำเพื่อเปรียบเทียบผลอยู่
  4. การทดลองเหล่านั้นสอดคล้องกับชีวิตของคนที่มีอายุเกินร้อยปีหลายคน ยกตัวอย่าง ฌอง คลามงต์ (1875-1997) และ ซาร่าห์ เคลาส์ (1880-1999) ทั้งสองคลั่งไคล้ช็อกโกแลตมาก คลามงต์ มีนิสัยติดกินช็อกโกแลตอาทิตย์ละสองปอนด์จนกระทั่งแพทย์ต้องแนะนำให้เธอเลิกกินเมื่ออายุได้ 119 ปี สามปีก่อนที่เธอจะลาโลกไปด้วยอายุ 122 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุยืนมักแนะนำให้กินช็อกโกแลตดำแทนขนมหวานมีแคลอรีสูงและนิยมกันมากในอเมริกา 
  5. ในอังกฤษ ช็อกโกแลตแท่งสอดใส้คานาบิสนิยมใช้กับผู้ป่วยโรค multiple sclerosis หรือโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ หรือเอ็มเอส เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลางแบบฉับพลัน โรคดังกล่าวมีพัฒนาการอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสายตา การพูด เมื่อรักษาเฉพาะอาการแล้วอาจเกิดขึ้นอีกได้ และร้ายแรงถึงขั้นอัมพาต ตาบอด และเสียชีวิต
  6. ในช็อกโกแลตมีส่วนประกอบมากกว่า 300 ชนิดที่ต่างกัน เช่นอนันดาไมด์ และเอ็นโดจีนัส คานาบินอยด์ที่พบได้ในระบบประสาท คนที่ไม่เชื่อแย้งว่า หากกินช็อกโกแลตให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทได้จริงคงต้องกินกันทีละหลายปอนด์มากถึงเห็นผล และกินมากๆ ยังเสี่ยงเป็นนิ่วด้วย ถึงกระนั้น มีข้อมูลน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่งคือ สารสองชนิดของอนันดาไมด์พบอยู่ในช็อกโกแลต ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลช่วยยืดความรู้สึกสุขสบายให้ยาวนาน 
  7. ช็อกโกแลตยังมีกาเฟอีน แต่ไม่มากนักและยังสามารถหาได้จากแหล่งอื่นที่มีมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ช็อกโกแลตนมมีกาเฟอีนน้อยกว่าดื่มกาแฟชนิดกาเฟอีนต่ำเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ช็อกโกแลตมีสารทริพโทฟาน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมเซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายขับเซโรโทนินออกมาช่วยให้ผ่อนคลายความวิตกกังวลได้ 
  8. ช็อกโกแลตช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สารที่คล้ายกับที่ได้จากฝิ่นที่ผลิตขึ้นเองในร่างกาย เมื่อร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ บางครั้งเชื่อว่า เอ็นดอร์ฟินมีส่วนช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสงสัยกันว่าเป็นตัวที่ทำให้คนบางคนถึงขนาดติดช็อกโกแลตงอมแงม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น